ดนตรีคือภาษาที่ใช้สำหรับสื่อสาร การแสดงออกทางความคิด บางครั้งยังเป็นการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เคยหรือไม่ เมื่อคุณได้ยินท่วงทำนองของบทเพลงแล้วเราคิดว่า “คงจะดีไม่น้อยเลยหากคุณสามารถเล่นบทเพลงหรือเครื่องดนตรีได้เหมือนศิลปินนั้น ๆ” หากคุณสนใจที่จะศึกษาและเล่นดนตรีอย่างจริงจัง คุณควรมีความเข้าใจในการอ่านโน้ตเพลงหรือทฤษฎีดนตรีต่าง ๆ วันนี้เราวีธีที่จะทำให้คุณพัฒนะทักษาอ่านโน้ตเพลงได้อย่างเข้าใจง่าย ตามมาดูกันเลย

STEP 1: ความเข้าใจในสัญลักษณ์ทางดนตรี

โน้ตเพลงสามารถใช้เพื่อการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรี เป็นแนวทางในการร้องหรือเล่นเครื่องดนตรี เพื่อความเข้าใจสัญลักษณ์ทางดนตรี เช่น เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง (Key Signature), ระดับเสียง (Pitch), ขั้นคู่เสียง(Intervals), บันไดเสียง (Scale), คอร์ด (Chord), หรือพื้นฐานทฤษฎีดนตรีในเรื่องอื่นๆ

บรรทัดห้าเส้น (Staff)

บรรทัดห้าเส้น (Staff) ประกอบด้วยเส้นขนาน 5 เส้น และช่องว่าง 4 ช่อง โดยแต่ละตำแหน่งจะแสดงถึงตัวโน้ต คือ A, B, C, D, E, F และ G โดยการนับเส้นหรือช่องนั้นเราจะนับจากข้างล่างขึ้นข้างบน

กุญแจซอล (Treble Clef หรือ G Clef)

กุญแจซอลเป็นกุญแจประจำหลักที่ใช้บ่อยเมื่อนักดนตรีศึกษาทฤษฎีดนตรี กุญแจซอลกำหนดให้เส้นที่ 2 ของบรรทัดห้าเส้น บันทึกเป็นโน้ต G นอกจากนี้ กุญแจซอลยังใช้บันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงสูงอีกด้วย


กุญแจฟา (Bass Clef หรือ F Clef)

กุญแจฟา ใช้บันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำ เช่น เสียงต่ำของผู้ชาย เสียงขอกีตาร์เบส ทรอมโบน ทูบา ดับเบิลเบส เป็นต้น กุญแจฟา กำหนดให้เส้นที่ 4 ของบรรทัดห้าเส้นนั้นเป็นโน้ต F


ตัวโน้ต (Note) และตัวหยุด (Rest)

ตัวโน้ต (Note) คือสัญลักษณ์ที่เขียนบันทึกความสั้น – ยาว ของเสียง

ตัวหยุด (Rest) คือสัญลักษณ์ที่เขียนบันทึกความสั้น – ยาว ของเสียงเงียบ

แผนผังการกระจายตัวของโน้ต (Music Note Tree) ช่วยแสดงให้เข้าใจค่าความยาวของตัวโน้ตได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

เมื่อนักดนตรีบรรเลงบทเพลงต่าง ๆ นักดนตรีต้องรู้ว่าจะเล่นความยาวของแต่ละตัวโน้ตเท่าไหร่ การที่คุณรู้จักชื่อและความยาวของแต่ละตัวโน้ตนั้นจะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตระหว่างการเล่นเครื่องดนตรีได้ดียิ่งขึ้น

 1.  โน้ตตัวกลม (Whole Note)

หากเครื่องหมายประจำจังหวะคือ  แสดงว่าในแต่ละห้องจะมีโน้ตตัวกลมได้ 1 ตัว โดยปฏิบัติครั้งเดียวในจังหวะที่ 1 และลากเสียงยาวไปจนครบ 4 จังหวะ

2. โน้ตตัวขาว (Half Note)

หากเครื่องหมายประจำจังหวะคือ  แสดงว่าในแต่ละห้องจะมีโน้ตตัวขาวได้ 2 ตัว โดยปฏิบัติ 2 ครั้งในจังหวะที่ 1 และจังหวะที่ 3 โดยในแต่ละครั้งจะลากเสียงยาวทั้งสิ้น 2 จังหวะ

3. โน้ตตัวดำ (Quarter Note)

หากเครื่องหมายประจำจังหวะคือ  แสดงว่าในแต่ละห้องจะมีโน้ตตัวดำได้ 4 ตัว โดยปฏิบัติ4 ครั้งในจังหวะที่ 1, 2, 3 และ 4 โดยในแต่ละครั้งจะลากเสียงยาวทั้งสิ้น 1 จังหวะ

4. โน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น (Eight Note)

หากเครื่องหมายประจำจังหวะคือ  แสดงว่าในแต่ละห้องจะมีโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น ได้ 8 ตัว โดยปฏิบัติ 8 ครั้งภาย 4 จังหวะ

5. โน้ตเขบ็ตสองชั้น (Sixteenth Note)

หากเครื่องหมายประจำจังหวะคือ  แสดงว่าในแต่ละห้องจะมีโน้ตเขบ็ตสองชั้น ได้ 16 ตัว โดยปฏิบัติ 16 ครั้งภาย 4 จังหวะ

การเพิ่มค่าความยาวของตัวโน้ต

 1. โน้ตประจุด (Dotted Note)

  การเพิ่มค่าความยาวของโน้ตให้เพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่ง โดยใช้เครื่องหมายจุด (Dot) ไว้หลังตัวโน้ตนั้น ซึ่งเครื่องหมายจุดจะ

  มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของตัวโน้ต

 2.   เครื่องหมายโยงเสียง (Tie)

เป็นการเพิ่มค่าความยาวของโน้ตให้เพิ่มขึ้น โดยใช้เครื่องหมายโยงเสียง (Tie) โดยโยงเสียงโน้ตสองตัวรวมกัน 

STEP 2: ความเข้าใจในเรื่องจังหวะ

เครื่องหมายประจำจังหวะ (Time Signature)

เครื่องหมายประจำจังหวะ (Time Signature) มีลักษณะเป็นตัวเลข 2 ตัวที่เขียนซ้อนกันคล้ายเศษส่วน แต่ไม่มีเส้นขีดคั่น เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ทราบว่าจังหวะและอัตราจังหวะของบทเพลงนั้นเป็นอย่างไร

เลขตัวบน: บอกจังหวะในแต่ละห้อง หรือจำนวนตัวโน้ต เช่น

เลข 2 แบ่งออกเป็นห้องละ 2 จังหวะ

เลข 3 แบ่งออกเป็นห้องละ 3 จังหวะ

เลข 4 แบ่งออกเป็นห้องละ 4 จังหวะ

เลขตัวล่าง: กำหนดลักษณะของตัวโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ เช่น

เลข 2 แทนโน้ตตัวขาว

เลข 4 แทนโน้ตตัวดำ

เลข 8 แทนโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น

อัตราความเร็วของจังหวะ (Tempo)

ความเร็วของบทเพลงต่าง ๆ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์บทเพลงนั้น ๆ โดยมีการกำหนดคำศัพท์ที่แสดงอัตราความเร็ว เช่น

 STEP 3: ความเข้าใจในเรื่องบันไดเสียง

บันไดเสียง คือ กลุ่มของยระดับเสียงหรือโน้ตที่นำมาจัดเรียงเป็นลำดับขั้น โดยจะมีความแตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างของบันไดเสียงชนิดนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น บันไดเสียง C เมเจอร์ ( C Major Scale) ประกอบไปด้วยโน้ตทั้งสิ้น 8 ตัว คือ C, D, E, F, G, A, B  และ C

โดยโน้ตแต่ละตัวจะมีระยะห่างของเสียงระหว่างกันดังนี้ โน้ต C-D = 1 เสียงเต็ม, D-E = 1 เสียงเต็ม, E^F = ครึ่งเสียง, F-G = 1 เสียงเต็ม, G-A = 1 เสียงเต็ม และ A-B = 1 และ B^C = ครึ่งเสียง

ชาร์ป (Sharp), แฟล็ต (Flat), และ เนเชอรัล (Natural)

ชาร์ป (♯) ทำให้เสียงสูงขึ้นจากเดิมครึ่งเสียง
แฟล็ต(♭) ทำให้เสียงต่ำลงกว่าเดิมครึ่งเสียง

เนเชอรัล (♮) ทำให้เสียงกลับคืนเสียงเดิม

ครื่องหมายประจำกุญแจเสียง (Key Signature)

เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง (Key Signature) เป็นกลุ่มของเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ตที่ได้มาจากขั้นตอนการสร้างบันไดเสียง โดยเขียนไว้หลังกุญแจประจำหลักและอยู่ก่อนเครื่องหมายประจำจังหวะมีผลทำให้โน้ตที่ติดชาร์ปหรือแฟล็ตตลอดทั้งเพลง

ยกตัวอย่างเช่น กุญแจเสียง G เมเจอร์ ( หรือกุญแจเสียง E ไมเนอร์) เครื่องหมายชาร์ปจะอยู่บนเส้นที่ 5 ของกุญแจซอล นั่นก็คือโน้ตตัว F และบนเส้นที่ 4 ของกุญแจฟา ซึ่งก็คือโน้ตตัว F เช่นกัน ดังนั้น หากคุณเจอโน้ตตัว F ในกุญแจเสียง G เมเจอร์ หมายความว่าคุณจะต้องเล่นโน้ต F# สำหรับบทเพลงนั้น ๆ


เพียง 3 Step ง่าย ๆ สำหรับการอ่านโน้ตเพลงซึ่งจะช่วยคุณได้มากขึ้นในการพัฒนาทักษะเรื่องของการอ่านโน้ต หากพัฒนาและฝึกฝนอยู่เสมอก็จะช่วยให้คุณมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น หวังว่าความรู้พื้นฐานที่เอามาฝากในวันนี้จะช่วยให้คนสนุกกับการเล่นดนตรีชิ้นโปรดกันนะคะ